"ม.เกริก" เล็งเห็นโอกาสลงทุนธุรกิจไทยในซาอุฯภายใต้ Vision 2030 กับโครงการ THE LINE เมืองนวัตกรรมบนผืนทราย จัดสัมมนาวิชาการ ผู้ประกอบการเข้าร่วมคับคั่ง

 เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 ที่ รร.อัลมีรอซ รามคำแหง 5 กรุงเทพมหานคร กลุ่มนักศึกษาหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต( ป.เอก) วิทยาลัยอิสลามนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกริกจัดสัมมนาวิชาการ insight THE LINE : Saudiarabia ‘s Vision 2030 “ THE LINE “ โอกาสลงทุนของผู้ประกอบการไทยในซาอุดิอาระเบีย” โดยเล็งเห็นถึงโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการที่จะเข้าไปลงทุนในซาอุดิอาระเบีย การขยายตลาด การต่อยอดธุรกิจผ่านเครือข่ายของผู้ประกอบการฮาลาล นอกจากนี้ยังมีสิทธิ์ในการเข้ารับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ การขอรับรองมาตรฐานฮาลาล

  การสัมมนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจากนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาเป็นประธาน พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรีกษารัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยเกริก อาทิ อ.หวัง ฉางหมิง ประธานกรรมการมหาวิทยาลัย ศ.ดร.อิมรอน มะลูลีม กรรมการสภามหาวิทยาลัย ศ.ดร.จรัล มะลูลีม รองอธิกาบดีฝ่ายต่างประเทศ ฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยเกริกและแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมอย่างคับคั่ง ตลอดจนผู้ประกอบการอีกกว่า 300 ท่าน

รศ.สุพัฒน์ ธีรเวชเจิรญชัย รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกริก รศ.สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกริก ได้กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติกล่าวว่า รู้สึกยินดี และเป็นเกียรติที่ได้ต้องรับทุกๆท่านเข้าสู่การสัมมนา นับว่าเป็นอีกมิติหนึ่งจากผลผลิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกริก แสดงถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจที่จะนำองค์ความรู้มาต่อยอดหาโอกาสเพิ่มเติมศักยภาพผ่านมุมมองของผู้มีประสบการณ์ตรง และผู้ประกอบธุรกิจในซาอุดิอารเบีย
นพ.วิรุฬห์ พรพัฒน์กุล ประธานจัดงานกล่าวว่า การสัมมนาเป็นบทบาทหนึ่งของสถาบันการศึกษา เป็นส่วนสำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับประชาชน โดยหลักสูตรการบริหารธุรกิจอิสลามประกอบด้วยสาขาวิชาต่าง ๆ อันได้แก่ การเงินอิสลาม การบริการฮัจย์และอุมเราะฮฺ อุตสาหกรรมฮาลาล นวัตกรรมตะวันออกกลางและการท่องเที่ยวสุขภาพเชิงฮาลาล กอรปกับเมื่อปีที่ผ่านมาประเทศซาอุดิอาระเบียได้รื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย หลังาจากลดระดับความสัมพันธ์กันมากว่า 30 ปี มีการกระชับความสัมพันธ์ในทุกระดับและหลายหลายมิติไม่ว่าจะเป็นด้านการทูต การศึกษา และที่สำคัญคือการส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างกัน ประเทซาอุดิอาระเบียกำลังก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงด้วยวิสัยทัศ 2030 มีการปฏิรูประบบการเมืองและเศรษฐกิจภายในเป็นที่น่าจับตาจากนักธุรกิจทั่วโลก
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาโดยกล่าวว่า โอกาสในทางธุรกิจไม่ใช่ว่าใครเก่งอย่างเดียว ใครไปได้เร็ว ใครเข้าถึงข้อมูลที่ชัดเจนก็ย่อมได้รับโอกาสที่ดีในการลงทุน ยกตัวอย่างประเทศเกาหลีใต้ ไต้หวันมีความเติบโตทางเศรษฐกิจเท่ากันหรืออาจจะน้อยกว่าไทย แต่หลังจากที่ตะวันออกกลาง ซาอุดิอาระเบียและรัฐอ่าวพบบ่อน้ำมัน มีการลงทุนเพิ่มขึ้น 2 ประเทศนี้เดินทางไปหาโอกาสนั้นและประสบความสำเร็จซึ่งปัจจัยสำคัญก็คือการมีรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง
พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรีกษารัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้เกียรติปาฐกฐาพิเศษในหัวข้อ “เดอะไลน์ ในมุมมองของ อว.” โดยกล่าวว่า ประเทศซาอุดิอาระเบียกำลังก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจที่ไม่เหมือนใครผ่านวิสัยทัศน์ 2030 แต่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ปริมาณการค้ามีมูลค่า 347 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และโอกาสของไทยนั้นเริ่มสดใสมากยิ่งขึ้นหลังจากการรือฟื้นความสัมพันธ์ในปี 2565 การค้าการลงทุนมีการขยายตัวในทิศทางที่ดีขึ้น มีการลงนาม MOU 5 ฉบับ คือ ความร่วมมือด้านพลังงาน เรื่องสภาความร่วมมือไทย-ซาอุฯ ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว เรื่องความร่วมมือด้านการส่งเสริมการลงทุน และเรื่องความร่วมมือองค์กรกำกับการดูแลการต่อต้านการทุจริต
ในการเสวนาเรื่อง เจาะลึกโครงการเดอะไลน์ Saudiarabia ‘s Vision 2030 โอกาสและแนวทางการลงทุนของผู้ประกอบการไทย คุณนาวา จันทนสุรคน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เราสามารถรองรับซาอุดิอาระเบียได้หลายอย่าง อย่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมีกลุ่ม 46 กลุ่มอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมรถยนตร์ ชิ้นส่วนรถยนต์ ความงาม อาหาร ก่อสร้าง ปูนซีเมนต์ และเหล็ก เป็นต้น ซึ่งจะสอดคล้องกับสิ่งที่ซาอุดิอาระเบียกำลังจะทำอย่างโครงการเดอะไลน์ ถ้าทำได้จริงจะเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกไม่แพ้กำแพงเมืองจีน ซึ่งเราประเมินดูแล้วมากกว่า 20 กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีโอกาสถ้าเราสามารถฉวยโอกาสได้ แต่ย้ำว่าซาอุฯไม่ได้เปิดให้เฉพาะประเทศไทย เราต้องพร้อม ต้องเร็ว ต้องฉวยโอกาส แต่ไม่น่าเชื่ออย่างอิหร่านประกาศว่าจะขายเหล็กให้กับซาอุฯปีละ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเราที่ผ่านมาขายได้เพียงหลักร้อยล้าน ขณะที่บริษัทระดับเล็ก หรือกลางไม่ได้เป็นข้อจำกัดต่อการทำธุรกิจในซาอุฯ
นายจารุดล ตุลยกิจจา กรรมการคณะกรรมการเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา สภาหอการค้าไทยได้แนะนำเกี่ยวกับการลงทุนในซาอุดิอาระเบียว่า ท่านมีอะไร และขาดอะไร การไปต่างประเทศต้องมีความกล้า ความพร้อม ความตั้งใจ ตั้งข้อสังเกตว่าเราคนไทย ระบบเราเปลี่ยนแปลงรวดเร็วตามไม่ทัน การทำงานเป็นทีมไม่ได้ เราไปด้วยใจว่าเค้าต้องการสินค้า เมื่อเราได้ออเดอร์ เราพิจารณาว่าเรามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน
การการเสวนาเรื่อง”กระบวนการลงทุนในประเทศซาอุดิอาระเบีย ผศ.ปารณ ชาตกุล Co-Founder บริษัทยักษ์เขียว กล่าวว่า เราทำหลายอย่างมากที่เกี่ยวข้องกับสีเขียว เราเห็นโอกาสเป็นอย่างมากนั่นก็คือ เรื่องของต้นไม้ เมื่อพูดถึงเรื่องการปลูกต้นไม้ในทะเลทรายซึ่งเคยไปเดินเล่นที่เมืองริยาฎครั้งแรกนั้น เจอต้นไม้ที่ปลูกในประเทศไทยมากกว่า 50 ชนิด ธุรกิจแรกก็คือ ฟาร์มต้นไม้ที่อยู่ในประเทศไทย(เพื่อส่งออก) เพาะเอง ปลูกเอง ส่วนที่สองการเพาะเลี้ยงต้นกล้า และทำงานออกแบบวางผัง รวมตัวกันจากหลายบริษัทที่รวมกันเป็นทีมไทยแลนด์แล้วไปบุกยังตลาดต่างประเทศ และอีกธุรกิจอีกด้านหนึ่งคือ การทำปุ๋ยและน้ำอีเอ็มภายใน 24 ชั่วโมงจากอาหารที่เหลือทิ้ง นอกจากนี้ยังมีธุรกิจกรีนเทคโนโลยี แอพพลิเคชั่นติดตามเรื่องของฟาร์ม โดยประเทศที่เข้าไปในซาอุฯแรกๆจะเป็นประเทศแถบยุโรปอย่างเนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย ซึ่งที่นั่นมีพืชหลายชนิดของไทยที่ปลูกได้ในซาอุฯ ในการที่จะให้เค้ารู้จักต้นไม้ไทยเราจะต้องทำตั้งแต่ต้นน้ำ สร้างดีมานด์ ทำให้เค้ารู้ว่าถ้าเอามาใช้ในโครงการของเค้าจะเป็นอย่างไรจึงจะส่งไป ในการส่งต้นไม้ไปซาอุฯ จริงๆแล้วเราไม่อยากส่งต้นไม้ใหญ่ๆส่งไป เพราะว่าเป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติของประเทศเราออกไปขายข้างนอก ในขณะที่ต้นไม้ที่เราปลูกเองจะมีค่าขนส่งที่เราจะต้องคิด ซึ่งถ้าต้นเล็กๆขนาดประมาณ 1 นิ้วก็จะได้ 1 ตู้ประมาณ 3,000 ต้น โดยกระบวนการส่งก็ส่งทางเรือรือไม่ก็ทางเครื่องบิน ซึ่งทางเรือนั้นใช้เวลาเดินทาง 30-40 วัน ทำให้ส่งผลต่อเรื่องคุณภาพของต้นไม้ ทำให้เราเสียเปรียบประเทศที่อยู่แถบนั้น จริงๆแล้วส่งต้นไม้ไปซาอุฯเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว ขณะเดียวกันซาอุฯก็ส่งคนมาเดินสืบราคาในตลาดบ้านเรา อีกขั้นหนึ่งแบบถึงประตูจะต้องมีบริษัทที่นั่นรับ หรือถ้าจะขายเองจะต้องเปิดบริษัทที่นั่นซึ่งจะต้องมีทุนจนทะเบียนประมาณ 30 ล้านริยัล หรือราว 3 ร้อยล้านบาท สำหรับเดอะไลน์ มีช่องทางธุรกิจอะไรนั้นให้ดูส่วนประกอบของโครงการว่ายังขาดอะไรอยู่ ตลอดจนงานระบบอย่างเช่น เครื่องปรับอากาศ ไฟฟ้า ประปา การรักษาความปลอดภัย ขึ้นอยู่กับว่าใครเร็ว และเข้าช่องทางไหน
นายสมศักดิ์ ชุ่มชื่น นักธุรกิจในซาอุดิอาระเบีย กล่าว่า ตนได้ไปอาศัยในประเทศซาอุดิอาระเบียตั้งแต่ปี 2524 จนถึงปัจจุบันซึ่งได้ทำร้านอาหารไทยทั้งในเมืองมะดีนะฮฺ และเจดดาห์ จนต้องปิดไป 1 สาขาจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้หยุดคิดทบทวบและปัจจุบันก็เปิดเพิ่มอีก 1 สาขาที่เมืองเจดดาห์ นอกจากนี้ยังทำฟาร์มผัก และซุปเปอร์มาร์เก็ต หลังจากสถานการณ์โควิด-19 หันมาทำบ่อเลี้ยงปลานิลที่มักกะฮฺซึ่งกำลังสร้างอยู่ ปัจจุบันตนได้กรีนการ์ดแล้ว ซึ่งจำเป็นต้องยอมจ่ายค่าอากรถึง 8 แสนริยัลเนื่องจากว่ามีธุรกิจร้านอาหาร สวนผัก โดยใช้ชื่อของคนอื่น หากว่าเกิดอะไรในวันข้างหน้า เราจะไม่มีสิทธิ์ในธุรกิจของเรา ซึ่งเมื่อเค้าเปิดให้ชาวต่างชาติที่ทำธุรกิจสามารถขอกรีนการ์ด ตนจึงได้ทำ โดยต้องมีการประเมินทรัพย์สินในไทย ตลอดจนสเตทเมนท์ธนาคารที่เราเป็นเจ้าของในประเทศไทย ตลอดจนการตรวจสอบเรื่องของประวัติ อยู่ในประเทศกี่ปี เรื่องของคดีอาญาในซาอุฯ ซึ่งเมื่อได้มาแล้วกรีนการ์ดเราสามารถมีสิทธิ์ซื้อที่ดิน ซื้อบ้าน ขณะเดียวกันเวลาติดต่อราชการจะได้รับการดูแลเป็นอย่างดี ด้วยการที่ซาอุฯจะดึงต่างประเทศเข้ามาลงทุน จึงมีการอนุญาตให้ผู้ที่มีบริษัทในซาอุฯแล้ว เราสามารถเปิดสาขาในประเทศได้โดยไม่ต้องมีการพิจารณาหรือตรวจสอบเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังมีการพูดคุยกับทางทูตไทยประจำซาอุฯว่า เราสามารถที่จะทำ MOU ระหว่างรัฐต่อรัฐ ขอใช้พื้นที่บางส่วนจัดให้เป็นตลาดของไทยเพื่อให้นักธุรกิจย่อยของไทยไปเช่า โดยให้รัฐบาลไทยเป็นผู้สร้าง ซึ่งหลังจากมกุฎราชกุมารมุฮัมหมัด บินซัลมานเดินทางมาเยือนประเทศไทยก็มีความกระตือรือร้นจากซาอุฯเป็นอย่างมากที่ สำหรับคำแนะนำแก่นักธุรกิจไทยว่าปัจจุบันสินค้าอะไรก็ตามจากประเทศไทยนั้นสามาถขายได้ทุกอย่าง แต่อยากให้รัฐบาลไทยคนนำ
นายมารุต เมฆลอย นายกสมาคมการค้านักธุรกิจไทยมุสลิม (TMTA) เปิดเผยว่า หัวใจหลักของ Vision 2030 ของซาอุฯนั้นคือการลดการพึ่งพาน้ำมัน ประกอบวิสัยทัศน์ของผู้นำปัจจบัน เดอะไลน์ เป็น 1 ใน 3 โครงการยักษ์ภายใต้ Vision 2030 เป็นเมืองใหม่ที่มีคนอยู่ประมาณ 9 ล้านคน เหมือนกับว่าคนในกรุงเทพมหานครมาอยู่ในพื้นที่ที่เป็นแท่งๆเดียว และเป็นเมืองที่ไม่ปล่อยของเสียสู่สิ่งแวดล้อมเลย ถือว่าเป็นโอกาสมากมายมหาศาล เพราะซาอุฯต้องการทรัพยากรมนุษย์ วัสดุ หิน เหล็ก ปูน ฯลฯ ที่เราสามารถส่งไปได้ ขณะเดียวกันซาอุฯมีความแตกต่างกับไทยเป็นอย่างมากซึ่งถือว่าเป็นข้อดีเพราะว่าสิ่งที่เค้ามีเราไม่มี สิ่งที่เรามีเค้าไม่มี เค้าก็อยากขายเรา เราก็อยากขายเขา ถือเป็นความท้ายทายของนักธุรกิจ ขณะเดียวกันความสัมพันธ์กับเรานั้นก็ดีขึ้นตลอดเวลา แต่เค้าก็ไม่ได้ดีกับเราประเทศเดียว เค้าก็ดีกับประเทศอื่นแม้แต่อิหร่านซึ่งถือว่าเป็นคู่แค้นกันมา โอกาสอยู่ทุกที่ตลอดเวลา และจะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับคนที่พร้อม คนที่ไม่พร้อมคว้าโอกาสมาอาจเป็นโชคร้ายสร้างความเสียหาย แต่ถ้าคนที่พร้อมคว้าโอกาสมาถือว่าโชคดี จงเตรียมพร้อมไว้เสมอ นอกจากนี้ยังแนะนำมุสลิมที่จะก้าวเข้ามาเป็นนักธุรกิจด้วยว่า จากการอ่านหนังสือเล่มล่าสุด “รวยด้วยซะกาต”ของ อ.นาอีม วงศ์เสงี่ยม สรุปว่า มุสลิมเราหลายคนมักเข้าใจความหมายของคำว่ารวยแบผิด ๆ บางคนรู้สึกว่าความรวยอาจเป็นที่ต้องห้ามด้วยซ้ำ แต่จริงๆแล้วตรงกันข้ามเมื่อศึกษาเข้าไปลึกๆแล้ว ท่านนบีและศอฮาบะฮฺที่รายรอบนั้นไม่ใช่คนจน หลายคนเป็นคนรวย เพราะรวยจึงสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ ยิ่งคุณเป็นคนรวยและดีเมื่อไหร่ เงินมันไม่ได้ดีหรือเลวในตัวของมัน มันเป็นแว่นขยายให้กับตัวเรา เราจะสร้างมากกว่าการเป็นคนดีแล้วจน ในขณะเดียวกันถ้าเราเป็นคนไม่ดีแล้วรวยก็จะสร้างความเลวร้าย ฟิตนะฮฺให้กับสังคมมากยิ่งขึ้น ถ้าเรามุสลิมลุกขึ้นมาสร้างตัวเราและลูกหลานให้รู้จักวิธีการคิดให้รู้จักหาริสกี สร้างความงอกเงยจากการทำงาน จะเป็นประโยชน์มากมายต่อตัวท่านเองและลูกหลาน รวมไปถึงประโยชน์ของตัวท่านเองในอาคิเราะฮฺ เราสามารถสร้างอะไรบางอย่างที่เป็นญาริยะฮฺที่อยู่ได้ในวันที่คุณไม่อยู่แล้ว ถ้าไม่รู้จะเริ่มตรงไหน TMTA สามารถแนะนำคุณได้
ด้านตัวแทนสมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าฮาลาลไทย ได้แนะนำผู้ประกอบการที่ส่งสินค้าไปจำหน่ายยังตะวันออกกลางว่า สินค้าไทยที่จะส่งออกไปตะวันออกกลางนั้นต้องได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาล ซึ่งในประเทศไทยนั้นมีอยู่ 2 องค์กรที่สามารถรับรองฮาลาลได้นั่นก็คือ กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าฮาลาล ประเด็นต่อมาคือต้องศึกษาระเบียบการนำเข้าสินค้า กฎหมายต่างๆ ซึ่งทางสมาคมฯมีความยินดีที่จะให้คำแนะนำและผ่านการรับรองเครื่องหมายฮาลาลได้ ตลอดจนการติดต่อกับทางราชการกับประเทศซาอุดิอาระเบียได้
เดอะไลน์ เป็นเมืองอัจฉริยะที่ถูกนำเสนอโดยซาอุดิอาระเบียในเมืองนีโอม แคว้นตะบูก ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างก่อสร้าง โดยได้รับการออกแบบให้ไม่มีรถยนต์ ถนน หรือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมืองมีความยาว 170 กม. เดอะไลน์เป็นส่วนหนึ่งของโครงการซาอุดิวิชั่น 2030 ซึ่งซาอุฯคาดว่าจะสร้างงาน 380,000 ตำแหน่ง เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ 48,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ประชาสัมพันธ์
โทร : 02-970-5820
  Fackbook